สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 พ.ย. 64
ภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ และระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี (100 มม.)จ.นครศรีธรรมราช (85 มม.) จ.สงขลา (62 มม.)

  • ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 39,176 ล้าน ลบ.ม. (68%) ขนาดใหญ่ 31,608 ล้าน ลบ.ม. (66%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์) คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนท่าจีนค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 26 พ.ย. 64 ในช่วงวันที่ 28–30 พ.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
    (27 พ.ย. 64) กอนช. โดย ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ จัดประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ครั้งที่ 2/2564 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมการรองรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยในปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (บางสะพาน สามร้อยยอด และหัวหิน) จ.ชุมพร (อ.หลังสวน) จ.สุราษฎร์ธานี (เกาะพะงัน พระแสง เคียนซา เวียงสระ และท่าชนะ) จ.นครศรีธรรมราช (สิชล นบพิตำ ท่าศาลา ขนอม พิปูน ฉวาง และทุ่งสง)
    ทั้งนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม พร้อมทั้งเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ ได้ทันท่วงที

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่