ปลัดมหาดไทยเชิงรุก ประชุมติดตามการพัฒนาคลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่ผ่านระบบ VCS ยกการดำเนินงานคลองแม่ข่า เป็นต้นแบบการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองให้มีสภาวะที่ดีของภาคเหนือ
วันนี้ (20 ต.ค. 64) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายนที ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางตามหลักการทรงงาน ซึ่งได้ทรงเน้นย้ำหลัก “บวร” คือ การทำงานร่วมกันของบ้าน วัด ราชการ และจิตอาสา ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ชาวมหาดไทยยึดถือมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้นำท้องถิ่นที่สำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นภาคีสำคัญในการแก้ปัญหาบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า และการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ วันนี้ได้เชิญนายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองมาร่วมนำเสนอวิธีขับเคลื่อนการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกความคิดเห็น ทุกความปรารถนาดีที่ทุกคนมีกับบ้านเมือง จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยร่วมระดมสรรพกำลัง สรรพความคิดเห็น ประสบการณ์ ของคนในสังคม มาช่วยกันในการทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ซึ่งผมมีแนวคิดในการขับเคลื่อนงานว่า “Change for good” ซึ่งหมายถึง การจะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้น ต้องเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชีวิตทุกคน ใครที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน และมีจิตอาสาช่วยงาน เมื่อทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมก็จะเกิดสิ่งดีและมีค่าแก่สังคม
<script async custom-element="amp-auto-ads"
src="https://cdn.ampproject.org/v0/amp-auto-ads-0.1.js">
</script>
จากนั้น ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า รวมทั้งข้อคิดเห็นในการพัฒนาคลองแม่ข่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า จากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่จะได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนและต่อยอดให้สมบูรณ์ต่อเนื่อง โดยเน้นชุมชนคนริมคลองและบูรณาการภาคเอกชน โดยใช้ชุมชนช่วยคิด ช่วยทำ ให้เกิดมรรคผล และจะสานต่อแนวคิดการขับเคลื่อนพัฒนาคลองแม่ข่าของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จำนวน 3 ช่วง ตั้งแต่อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอหางดง ความยาวกว่า 30 กิโลเมตร สภาพปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมา เช่น การรุกล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำ สภาพตื้นเขิน และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ และชุมชน เป็นต้น การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ตามมาตรการต่าง ๆ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับเช่น เช่น การจัดหาน้ำต้นทุน ภายใต้โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ด้วยการนำน้ำดีจากคลองส่งน้ำแม่แตง การขุดลอกลำห้วย การปรับปรุงระบบ ส่งน้ำ และการปรับปรุงแก้มลิง การแก้ไขการบุกรุกที่ดิน การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกชุมชน จิตอาสา และการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียของบ้านเรือน ส่วนบ้านเรือนที่ได้ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ ขอให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม และกองทุนสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะร่วมกันบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้ได้มีระบบบำบัดน้ำเสียประจำบ้าน เช่น ถังดักไขมัน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการดูแลสิ่งแวดล้อม และต้องรีบเร่งขุดลอกโคลนเลนที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้น้ำเน่าเสีย และเติมน้ำลงในลำคลองให้มากที่สุด
กองสารนิเทศ สป.มท.
ครั้งที่ 149/2564
วันที่ 20 ต.ค. 2564